Categories
News

บริหารจัดการอาคาร: ไพโรเจน ในถังดับเพลิงคืออะไร

บริหารจัดการอาคาร: ไพโรเจน ในถังดับเพลิงคืออะไร ไพโรเจน (PYROGEN) ระบบดับเพลิง คืออะไร และมีวิธีการทำงานอย่างไร มาดูกัน สารดับเพลิงไพโรเจน PYROGEN (ย่อมาจาก Pyrotechnically Generated) เป็นสารดับเพลิงที่ไม่นำไฟฟ้า ได้รับการประดิษฐ์คิดค้นขึ้นมาจากแนวความคิดของเชื้อเพลิงที่ใช้ในจรวด เมื่อเก็บรักษาจะอยู่ในรูปของแข็ง แต่เมื่อใช้งานหรือทำปฏิกิริยา ก็จะกลายสภาพเป็นส่วนผสมของก๊าซ มีลักษณะการกระจายทั่วทิศทางจนเต็มพื้นที่ป้องกัน

ไพโรเจน มีลักษณะเป็นถังสามารถทำงานคือฉีดสารดับเพลิงออกมาได้ด้วยตัวของมันเอง จัดว่าเป็นสารดับเพลิงที่มีประสิทธิภาพสารหนึ่งที่นำมาใช้ทดแทน HALON ที่ถูกห้ามใช้งานไป

นอกจากนี้ ไพโรเจน ยังใช้หลักการดับเพลิงทางเคมี โดยใช้กระแสไฟฟ้าหรือความร้อนเพื่อทำให้สารไพโรเจนที่อยู่ในรูปของแข็งเกิดปฏิกิริยาเคมี กลายสภาพเป็นส่วนผสมของควันและก๊าซฉีดออกมาด้วยแรงดันจากตัวถังฟุ้งกระจายไปทั่วปริมาตรของห้องที่ต้องการดับเพลิง โดยในส่วนของควันที่เกิดขึ้นมีส่วนผสมหลักเป็นอนุภาคของโพแทสเซียมคาร์บอเนต ที่มีขนาดอนุภาคใกล้เคียงกับอากาศ ส่วนที่เป็นก๊าซเป็นส่วนผสมของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์, ก๊าซไนโตรเจนและไอน้ำรวมอยู่ด้วยกัน หรืออาจเรียกส่วนผสมของก๊าซและควันดังกล่าวว่า Aerosol

สำหรับห้องเอกสารหรือห้องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ จะไม่ใช้ระบบดับเพลิงที่ใช้น้ำ แต่จะใช้ก๊าซแทน ซึ่งระบบนี้เรียกว่า “ไพโรเจน” เมื่อเกิดเหตุไฟไหม้ ที่เซ็นเซอร์จับได้ในระดับที่ตั้งค่าไว้ ถังดับเพลิงระบบไพโรเจน Pyrogen Aerosol firefighting agent จะทำงาน โดยผลิตก๊าซอื่นมาแทนที่ออกซิเจน ทำให้บริเวณไฟไหม้ไม่มีออกซิเจน และไฟก็ดับลง ก๊าซที่มาแทนที่ออกซิเจน หรือมาช่วยดับไฟนั้นคือ คาร์บอนไดออกไซด์ ผสมไนโตรเจน และละอองน้ำ สามตัวนี้ไม่ติดไฟ ช่วยดับไฟ แต่คนที่หลงติดอยู่บริเวณนั้น ก็จะขาดอากาศหายใจ ยิ่งอยู่ในอาคารปิด อากาศภายนอกเข้ามาแทนที่ยาก ก็ยิ่งยากที่จะรอดชีวิต

ทั้งนี้ รศ. ดร.วีรชัย ยังอธิบายอีกว่า การที่ไฟจะติดเมื่อองค์ประกอบครบ 3 อย่าง คือ แหล่งกำเนิดไฟ เชื้อเพลิง และออกซิเจน (อากาศ) ดังนั้นสารเคมีที่จะดับไฟได้ ต้องทำให้ 3 องค์ประกอบนั้นสูญเสีย โดยวิธีที่ง่ายสุดคือ ทำให้ไม่มีอากาศ หรือเอาก๊าซอื่นที่ไม่ติดไฟไปแทนอากาศนั่นเอง

ส่วนใครที่อยากรู้วิธีการทำงานไพโรเจน เราก็มีรายละเอียดมาฝากเหมือนกัน โดยก๊าซไพโรเจนนั้นสามารถฉีดออกมาได้ด้วยวิธีการอย่างใดอย่างหนึ่งใน 3 วิธี ดังนี้

1. การสั่งฉีดด้วยกระแสไฟฟ้า คือ เมื่อผ่านกระแสไฟฟ้าที่เพียงพอเข้าไปในอุปกรณ์จุดระเบิดด้วยกระแสไฟฟ้า ไพโรเจนก็จะทำงานโดยฉีดสารออกมา

2. การฉีดออกมาเองโดยอัตโนมัติด้วยกระแสไฟฟ้า ทำงานโดยใช้กระแสไฟฟ้าเช่นเดียวกับข้อ 1 แต่มีระบบสั่งฉีดสารอัตโนมัติเช่น ตู้คอนโทรล, Smoke Detector, Heat Detector ร่วมอยู่ด้วย

3. การฉีดออกมาเองโดยอัตโนมัติด้วยความร้อน นอกจากไพโรเจนจะมีตัวจุดระเบิดด้วยกระแสไฟฟ้าแล้ว ไพโรเจนยังมีตัวจุดระเบิดด้วยความร้อนอยู่ในถังด้วย โดยตัวจุดระเบิดด้วยความร้อนจะทำงานเมื่ออุณภูมิสูงกว่า 175 องศาเซลเซียส ส่งผลให้สารไพโรเจนถูกฉีดออกมาหรือเมื่อ สายชนวนที่ต่อกับไพโรเจนสัมผัสกับเปลวไฟ ก็จะทำให้ไพโรเจนทำงานได้เช่นกัน การทำงานเองลักษณะนี้เหมาะอย่างยิ่งกับการติดตั้งในตู้ไฟฟ้า เนื่องจากเมื่อเกิดเพลิงไหม้ สายชนวนมีโอกาสสัมผัสกับเปลวไฟได้ง่ายหรืออุณหภูมิในตู้ที่จำกัดพื้นที่ก็จะสูงขึ้นอย่างรวดเร็วทำให้ไพโรเจนสามารถทำงานได้อย่างทันท่วงที

จุดเด่นของระบบไพโรเจน อาทิ

1. ประสิทธิภาพสูงประหยัดพื้นที่
เนื่องจากเราสามารถนำถังไพโรเจนที่มีขนาดเล็กไปติดตั้งบนเพดาน, ผนัง, ใต้พื้นยก หรือในตู้ไฟฟ้าได้

2. ประหยัดค่าใช้จ่าย และติดตั้งง่าย
เนื่องจากระบบดับเพลิงอัตโนมัติไพโรเจนเป็นลักษณะ Modular Design ไม่ต้องมีการเดินท่อก๊าซเหมือนระบบดับเพลิงแบบเก่า เพียงเดินสายไฟฟ้าจากตู้ควบคุมไปที่ถังแต่ละถัง ทำให้ค่าใช้จ่ายถูกกว่าระบบดับเพลิงอัตโนมัติระบบอื่น

3. ระบบมีความยืดหยุ่นสูง
เนื่องจากไพโรเจนมีการออกแบบเป็นลักษณะ Modular Design ทำให้การเพิ่มลดเปลี่ยนแปลงในอนาคตทำได้อย่างง่ายดาย เพียงให้มีปริมาณถังเพียงพอต่อปริมาตรของพื้นที่ป้องกันภัยตามมาตรฐานของผลิตภัณฑ์เท่านั้น

4. เทคโนโลยีล่าสุดใช้ถังไม่มีแรงดัน
ไพโรเจนใช้ถังไม่มีแรงดัน โอกาสที่สารจะรั่วออกจากถังจึงเป็นศูนย์ จึงไม่เป็นภาระในการบำรุงรักษาเหมือนระบบอื่นที่ใช้ถังอัดแรงดันสูง ซึ่งมีโอกาสรั่วซึมในอนาคต